วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555

บทความขุนช้างชุนแผน



วรรณคดีวิเคราะห์และวรรณคดีวิจารณ์
ชื่อ นางสาวสุพัตรา  เนตรเสนา                            รหัสนิสิต......
๕๒๐๑๐๕๑๔๐๔๑..TH…..
                                                          งานชิ้นที่......๑....                 
                        หัวข้อ บทความ ประเพณีการแต่งงาน ในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน..............................................................................................................................................

การแต่งงานแบบไทย เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของ คนไทย ที่ถือปฏิบัติกันมาช้านาน ซึ่งควรปฏิบัติให้ถูกต้องตามครรลองเพื่อความเป็นสิริมงคลในชีวิตต่อไป โดยที่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงนั้นจะต้องรักใคร่ชอบพอกันในระยะเวลาที่เหมาะสม และเมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงปลงใจที่ใช้ชีวิตคู่ด้วยกันแล้ว เบื้องต้นฝ่ายชายจะต้องเป็นผู้บอกกับพ่อแม่ตนให้รับทราบ เพื่อจะได้ดำเนินการให้พ่อแม่หรือผู้ใหญ่ที่นับถือมาทาบทามสู่ขอหรือหมั้น หมายฝ่ายหญิงจากพ่อแม่ก่อนที่จะแต่งงานกัน เพื่อให้เห็นเด่นชัดในบทความนี้จะกล่าวถึงพิธีการแต่งงานที่ว่าถือปฏิบัติกันมาช้านาน ว่า ณ ปัจจุบันนี้ มีอะไรที่เพิ่มขึ้น ลดลง หรือเปลี่ยนแปลงไปทางด้านใดบ้าง

ในตอนที่ ๕ ขุนช้างขอนางพิมขุนช้างเร่งให้นางเทพทองผู้เป็นแม่ไปขอนางพิมให้ แต่นางเทพทองไม่ไปเพราะเหตุผลว่าขุนช้างเปรียบกับนางวันทองไม่ติดเลย จนกระทั่งขุนช้างทนรอไม่ไหว วันต่อมาได้เดินทางไปหานางศรีประจันแม่ของนางพิมด้วยตนเอง แล้วก็กล่าวถึงสิทธิและทรัพย์สินที่ทางนางพิมจะได้เมื่อตกลงแต่งงานกับขุนช้าง และยังแก้ตัวว่าที่นางเทพทองไม่มาเพราะกลัวว่านางศรีประจันจะไม่พอใจ เพราะเคยเลี้ยงลูกให้เป็นพี่เป็นน้องกันตั้งแต่ยังเด็ก ซึ่งสิ่งที่ขุนช้างทำดูจะขัดกับวัฒนธรรมไทยอย่างยิ่ง ที่ในเรื่องของการสู่ขอ เนื่องจากการสู่ขอคนไทยถือว่าการแต่งงานต้องได้รับความเห็นชอบจากพ่อแม่ทั้งสองฝ่ายและการที่จะไปขอลูกสาวใครแต่งงานต้องให้พ่อแม่ฝ่ายหญิงยินยอม จึงต้องมีการทาบทาม สู่ขอ และหมั้นหมายกันไว้ก่อนที่จะมีการแต่งงานเกิด
ในตอนที่ ๗ พลายแก้วแต่งงานกับนางพิม กว่าที่คนเราจะได้แต่งงานกันในสมัยก่อนเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะบางคู่ทั้งหญิงและชายไม่ได้คบหาสมาคมกันเลยด้วยซ้ำ แต่เนื่องจากเป็นที่น่าพึงพอใจของพ่อแม่หรือผู้เฒ่าผู้แก่ต่างหากที่ทำให้เกิดการแต่งงานขึ้น แต่อย่างพลายแก้วก็ดีหน่อยที่ได้รู้จักมักคุ้น คุ้ยเสียจนเคยกับนางพิมก่อน แล้วค่อยห่างกันทีหลัง แต่ถึงกระนั้นพลายแก้วก็ไม่ลืมที่จะขอให้นางทองประศรีไปขอนางพิมให้ เป็นโชคดีของพลายแก้วที่ผู้เป็นมารดาก็ยอมพาไปโดยเต็มใจ การแต่งงานมีประเพณีที่ต้องทำตั้งแต่ยังไม่มีการแต่ง ทั้งเริ่มโดยการเตรียมตัวของพลายแก้วที่ต้องจัดเตรียมข้าวของต่างๆ รวมทั้งแบ่งคนที่จะไปด้วยเมื่อเดินทางไปสู่ขอนางพิม และคงจะต้องเป็นจำนวนมากเนื่องจากการเดินทางโดยเกวียนในสมัยก่อน ทั้งเวลาไปถึงก็จะอยู่ที่บ้านนางพิมไม่ได้ ก็ต้องเตรียมของใช้ เครื่องเรือน เครื่องปลูกเรือน ที่ใช้เป็นที่พักพิงชั่วคราวเมื่อไปถึงบ้านนางพิม ผู้เป็นแม่งานหรือนางทองประศรีในการสู่ขอนางพิมนั้นยังต้องมีการบอกกล่าวผู้เฒ่าผู้แก่ คือตาสน ตาเสา ยายมิ่งและยายเม้า ซึ่งผู้ที่ได้รับมอบหมายให้มาสู่ขอตามประเพณี คือ เฒ่าแก่ เพราะ ในอดีตหญิงชายนั้นไม่มีโอกาสที่จะคบหาศึกษาดูใจกันก่อน แต่จะอาศัยเฒ่าแก่ หรือผู้ใหญ่ที่นับถือเข้าไปทาบทาม โดยส่วนใหญ่แล้วเฒ่าแก่นั้นจะมีฐานะดี มีผู้ให้ความเคารพนับถือ หรือมีหน้ามีตาในสังคม และเป็นที่รู้จักของพ่อแม่ทั้งสองฝ่ายด้วย เพราะจะเป็นผู้รับรองในคุณสมบัติของฝ่ายชาย ซึ่งหากฝ่ายหญิงไม่มีทีท่ารังเกียจ และการเจรจาผ่านพ้นไปด้วยดี ฝ่ายชายก็จะสานความสัมพันธ์กับฝ่ายหญิงต่อ เมื่อถึงเวลาสู่ขอผู้ใหญ่ทางพลายแก้วก็จะบอกว่าเป็นมาอย่างไร พื้นเพ นิสัยใจคอของฝ่ายชายเป็นอย่างไร เมื่อต่างฝ่ายต่างพอใจในอีกฝ่ายก็จะมีการตกลงค่าสินสอดกันตามเห็นสมควร ทั้งนี้นอกจากค่าสินสอดแล้วก็จะมีผ้าไหว้ด้วยซึ่งผ้าไหว้ มี 2 อย่าง คือ ผ้าไหว้พ่อแม่และผู้มีพระคุณ ถ้าผู้ไปไหว้เป็นผู้หญิงให้ใช้ผ้าลาย กับผ้าแพรห่ม หรือว่าจะเป็นผ้าไหมก็ได้ ถ้าเป็นผู้ชายนิยมผ้าม่วงนุ่ง กับผ้าขาวม้า ส่วน ผ้าไหว้ผี ควรเป็นผ้าขาวเพื่อไปเย็บเป็นสบงหรือจีวรสำหรับถวายพระ  ทั้งนี้ ผ้าไหว้ทั้งสองชนิดจะจัดใส่พานแยกกัน ตามประเพณีแล้วของหมั้นจะตกเป็นของเจ้าสาว และจะนำมาประดับร่างกายในพิธีวันแต่งงาน นอกจากนี้ยังมีการกำหนดเงินสินสอดและผ้าไหว้ ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของพ่อแม่ โดยถือเป็นค่าเลี้ยงดูหรือค่าน้ำนม นั่นเอง
และจากนั้นก็จะกำหนดฤกษ์วันงาน ซึ่งในเรื่องฤกษ์ดีคือ เดือนสิบสองวันเสาร์ขึ้นเก้าค่ำ ซึ่งดูจะขัดแย้งกับในสมัยนี้มากเลยทีเดียว เนื่องจากการกำหนดฤกษ์ยามถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด คนไทยนิยมแต่งงานเดือนคู่ตามปฏิทินจันทรคติ ยกเว้นเดือน 12 เพราะถือว่าเป็นเดือนที่สัตว์มีคู่ วันสิบสองค่ำทั้งข้างขึ้นและข้ามแรม ตามตำราโบราณห้ามแต่งเพราะถือว่าเป็น "วันจม"  วันอังคารและวันเสาร์ถือเป็น "วันแรง" วันพุธถือเป็นวันนามไม่ดี ส่วนวันพฤหัสบดีตามตำราฮินดูแล้วถือว่าเป็นวันไม่ดี เพราะลูกสาวพฤหัสบดีแต่งงานแล้วไปมีชู้ วันศุกร์นั้นเป็นวันที่เหมาะจะแต่งงานเพราะเสียงไปพ้องกับคำว่า "สุข"  แต่ในเรื่องกลับต่างกันไปอย่างสุดโต่ง เมื่อการเจราจาเรื่องสินสอดทองหมั้น และการหาฤกษ์ยามในการจัดพิธีเป็นได้ด้วยดี เฒ่าแก่จะเป็นผู้แจ้งข่าวแก่ฝ่ายชาย และดำเนินการพูดคุยเพื่อเตรียมการ เช่น ขบวนขันหมาก ของที่ต้องใช้ในการจัดพิธี รวมไปถึงเรื่องของจำนวนคน แขกฝ่ายชายที่จะมารวมเป็นสักขีพยาน ควรเลี้ยงดูปูเสื่อเป็นอย่างดี ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญไม่ควรให้ขาดตกบกพร่อง เพราะถือเป็นธรรมเนียมไทยที่ยึดถือปฏิบัติกันมาอย่างช้านาน

บ้านฝ่ายหญิงที่ต้องใช้เป็นสถานที่จัดงานในวันงานนั้น ก็จะมีการเตรียมหมากพลู ข้าวของต่างๆนานาที่ต้องใช้ต้อนรับแขกและใช้ในพิธีแต่งงาน แม่ของนางพิมก็ต้องเป็นผู้ไปนิมนต์พระตามประเพณีพิธี เมื่อวันแต่งงานมาถึงฝ่ายเจ้าบ่าวก็ยกขันหมากมาบ้านเจ้าสาว ความสุขสนุกสนานในช่วงนี้จะอยู่ที่ขบวนขัน หมาก กล่าวคือมีการ กั้นประตูเงินประตูทอง ของทางฝ่ายหญิง เฒ่าแก่ฝ่ายชายจะต้องเสียเงินทองให้ของกำนัลเพื่อยกขันหมากขึ้นบ้าน ในเรื่องนี้ฝ่ายเจ้าสาวใช้ไม้กั้น แต่ในปัจจุบันมักใช้เข็มขัดหรือสร้อย ซึ่งอาจเกิดจากความเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าทางสังคม พิธีแต่งงานจะเริ่มด้วยพิธีสงฆ์  ซึ่งนิมนต์มา ๑๐ รูป ซึ่งมีข้อต่างจากสมัยนี้ ซึ่งมักนิมนต์พระสงฆ์ 9 รูป เจริญพระพุทธมนต์ ในระหว่างนั้น ว่าที่เจ้าบ่าว และว่าที่เจ้าสาว ก็ตักบาตรร่วมกัน จากเสร็จพิธีก็จะเป็นการอบรมสั่งสอน โดยที่ผู้เป็นพ่อแม่ต้องอบรมบอกกล่าวลูกตนเองในการประพฤติตัวต่อคู่ชีวิตเมื่อออกเรือนไปแล้ว  พ่อแม่ฝ่ายหญิงจะพาเจ้าสาวมาส่งทีห้องหอ ให้โอวาทและอวยพรแก่ทั้งคู่ ซึ่งในเรื่องผู้ใหญ่จะนำเจ้าสาวเข้ามาส่งตัวในห้องหอซึ่งเจ้าบ่าวเข้ามาคอยอยู่ก่อนแล้ว ไม่ใช่ว่าส่งทั้งเจ้าบ่าวเจ้าสาวเข้ามาพร้อมๆ กันเหมือนสมัยนี้
หลายคนต่างมีความหวังที่จะได้จัดงานแต่งงานในแบบที่ตัวเองใฝ่ฝัน  แต่อีกส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้ก็คือช่วงพิธีการตอนเช้า  ซึ่งในแต่ละครอบครัวมักจะจัดพิธีมงคลสมรสกันตามศาสนา  และประเพณีที่ตนเองนับถืออยู่  โดยขั้นตอนในแต่ละส่วนอาจแตกต่างกันบ้างตามประเพณีของแต่ละที่  ในวรรณคดีเรื่องขุนช้างก็เช่นเดียวกันทั้งตอนขุนช้างขอนางพิมและตอนพลายแก้วแต่งงานกับนางพิม ก็ปรากฏประเพณีการแต่งงานในสมัยนั้นออกมาอย่างเด่นชัด แต่ถึงอย่างไรก็ตามขอให้ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีไทยไว้เป็นพอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น